วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับ Youtube

ความรู้เกี่ยวกับ youtube
YouTubeสร้างเมื่อ 17-01-2007 โดย 350D
YouTube (ยูทูบ) เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียง(www.youtube.com) โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถอัพโหลดภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) คลิปวิดีโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ YouTube ส่วนมากเป็นไฟล์คลิปสั้นๆ ประมาณ 1 - 10 นาที ถ่ายทำโดยประชาชนทั่วไป แล้วอัพโหลดขึ้นสู่เว็บไซต์ของ YouTube โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับคลิปเอาไว้ด้วย เช่น ไฟล์ล่าสุด, ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด, ไฟล์ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด ฯลฯ
YouTube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตที่มียอดผู้ชมวิดีโอของทางเว็บไซต์ทะลุหลัก 100 ล้านครั้งต่อวัน หรือคิดเป็นราว 29 เปอร์เซ็นต์ของยอดการเปิดดูคลิปวิดีโอทั้งหมดในสหรัฐฯ ในแต่ละเดือนมีผู้อัพโหลดวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000 เรื่อง
สถิติจาก Nielsen/NetRatings ซึ่งเป็นผู้นำวิจัยการตลาดและสื่่ออินเตอร์ระดับโลกระบุว่า ปัจจุบัน YouTube มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ล้านคน นอกจากนี้ ในปี 2006 นิตยสารไทม์ ยกย่องให้เว็บไซต์ YouTube เว็บไซต์ให้บริการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอชื่อดัง เป็น "Invention of the Year" หรือรางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งปี อีกด้วย
ความเป็นมา
เว็บไซต์ YouTube ก่อตั้งขึ้นวันที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ 2005 โดยมีอดีตพนักงานของ PayPal สามคนคือ Chad Hurley, Steve Chen และ Jawed Karim เป็นผู้ร่วมกันก่อตั้ง (ปัจจุบัน PayPal ถูก eBay ซึ้อไปแล้ว) แต่ต่อมา Jawed Karim ได้ออกจาก YouTube เพื่อไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Standford YouTube มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองซานมาทีโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 67 คน
YouTube เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และได้รับความ สนใจเป็นอันมาก โดยเฉพาะการบอกแบบปากต่อปากที่ทำให้การเติบโตของ YouTube เป็นไปอย่างรวดเร็ว YouTube มาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายต่อเนื่อง เมื่อมีการนำภาพวิดีโอช่วง Lazy Sunday ของรายการ Saturday Night Live มาแสดงบนเว็บ ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2006ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี (NBC) ก็ได้เรียกร้องให้ทาง YouTube เอาคลิปวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหลายออกจากเว็บ ซึ่ง YouTube เองก็มีนโยบายที่จะไม่เอาคลิปที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดงเช่นกัน นั่นทำให้ต่อมา You Tube กำหนดนโยบายที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามกรณีพิพาทกับสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีก็ได้ทำให้ YouTube เป็นข่าวและเพิ่มความดังมากขึ้นไปอีก
ต่อมา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2006 google ได้ตกลงตัดสินใจเข้าซื้อ YouTube ด้วยมูลค่า 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนหุ้น อย่างไรก็ตาม YouTube ก็ยังคงดำเนินกิจกรรม ของบริษัทไปตามปกติ โดยเป็นอิสระจากการควบคุมของ google การรวมกันของสองบริษัทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีขึ้นและเข้าใจได้มากขึ้น สำหรับผู้ใช้ที่สนใจในการอัพโหลด การดูวิดีโอ และการแชร์ภาพวิดีโอ รวมถึงการนำเสนอโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้เป็นเจ้าของ ข้อมูล (content) ที่เป็นมืออาชีพที่จะนำเสนองานของพวกเขาไปสู่คนวงกว้าง




ข้อควรทราบ เกี่ยวกับ พรบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

ข้อควรทราบเกี่ยวกับ พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า พรบ. คอมพิวเตอร์ นี้ ประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทุกๆ ท่าน ควรจะรับทราบ เพื่อจะได้ไม่กระทำผิดใดๆ




พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้ 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐” 

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท 
หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม
มาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่องบล็อก

blog ยอดนิยม

Blog Sisters 
Blogging Mommies 
Generation Exhausted 
Daria's Life 
A Typical Life 
The Mother of All Blogs 
Twist of Kate 
Me 
Motherhood Is Not For Wimps



ความรู้พื้นฐานที่จะต้องมี ในการทำ Blog ด้วย Blogger.com

 วันนี้ก็จะมาเล่าให้ฟังครับ...ว่าการทำ Blog ด้วย Blogger.com เนี่ย มันไม่ได้ยากเย็นเกินความสามารถเลยครับ..ต่างประเทศทำกันเป็นว่าเล่นเลยครับ.. (อาจจะเป็นเพราะมันมีคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษมั้งครับ)

จะว่าไป Blog ในประเทศไทย ก็มีมากมายครับ...
จะทำกันในไทยก็ได้..แต่ว่าที่ผมเลือกใช้ Blogger.com เพราะว่า มันเป็นบริษัทของ Google นั่นแหละครับ..ดังนั้น เรื่องการที่ Blog ของเราจะติดอันดับ บน Search Engine ได้เร็ว ๆ ก็จะมีโอกาสสูงกว่าครับ ซึ่งถ้าเราทำ Blog แล้วอยากให้มีคนเข้ามาเยี่ยมชมเยอะ ๆ แบบไม่ต้องเสียค่าโฆษณา ก็คือเราต้องทำให้เวลาคน Search หาข้อมูลบน Search Engine แล้วเจอ Blog ของเราเลยไงล่ะครับ..ประหยัดกว่าการไปจ้างเขาโฆษณา

หลักการทำ Blog เนี่ยครับ ก็เหมือนการทำเวบไซต์ ครับ 
1. ทำ Blog เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
หรือ เป็นเรื่องที่ตนเองถนัด เพราะว่า เราจะเขียนได้คล่องมือครับ อยากให้มีคนเก่ง ๆ ที่แบบว่า
สมมติว่า คุณทำงานด้านไหนอยู่ แล้วเห็นว่า ความรู้ของคุณน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นได้ ,
หรือว่า คุณสะสมของอะไรอยู่แล้วก็อยากอวด (จะเก็บไว้ภูมิใจคนเดียวทำไมล่ะครับ) ก็เอามาทำ Blog ก็อาจจะทำให้คุณได้เพื่อนใหม่ที่สนใจในเรื่อง
ประเภทเดียวกันนี้เพิ่มขึ้น เกิดเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ได้อีกด้วยครับ
หรือ คุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่น่าสนใจ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว แล้วที่บ้านทำห้องพัก ก็สามารถมาทำ Blog เล่าเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ
แล้วก็โฆษณาประชาสัมพันธ์ ธุรกิจของคุณได้อีกด้วยครับ..ไม่ได้จำกัดว่า เฉพาะบุคคลเท่านั้น ปัจจุบันเมืองนอกนั้น บริษัทใหญ่ ๆ มี Blog
เกือบหมดแล้วครับ เพราะBlog จะออกมาในแนว สบาย ๆ เป็นกันเองมากกว่า Website ของบริษัทที่จะต้องดูเป็นมืออาชีพ และ เป็นทางการนั่นเองครับ
ซึ่งการทำ Blog เนี่ย จะช่วยให้ธุรกิจของคุณ ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย เช่น ลูกค้าอาจจะมาบ่นว่า..ผลิตภัณฑ์ตัวนั้น ตัวนี้ รวนบ่อยจังเลย
อะไรประมาณนี้น่ะครับ..ซึ่งเราก็อาจจะตอบผ่าน Blog ไปได้เลยครับ ซึ่งจะทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงการดูแลมากกว่า
การที่จะต้องไปติดต่อผ่านหน้าเวบหลักซึ่ง ดูแล้วน่ากลัวว่าจะผ่านหลายขั้นตอนของบริษัทน่ะครับ

2. Promote Blog 
เมื่อเราทำ Blog แล้วเราก็ต้องป่าวประกาศออกไปให้คนอื่นรับรู้ว่า มี Blog แบบนี้อยู่บนโลกครับ

3. หารายได้จาก Blog
ทำ Blog แล้วจะได้เงินจากไหน พอจะนึกภาพกันออกมั้ยครับ ที่เราเห็นเวบไซต์ดัง ๆ เขามี โฆษณามาลงเต็มไปหมด นั่นแหละครับ
ถ้าเราทำ Blog แล้วเราไม่มีพนักงานไปขายโฆษณา แบบเวบดัง ๆ เราจะต้องหาโฆษณามาลงเองครับ ซึ่ง มีเยอะแยะเต็มไปหมด ...
อ๊ะ...ไม่ได้อ่านผิดครับ.. มีเยอะแยะเต็มไปหมดจริงๆ ครับ.. เพียงแต่ว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะไม่รู้จักมันนั่นเองครับ..ไม่เป็นไร ผมจะค่อย ๆ เล่าให้ฟังกัน
ต่อไปครับ มีทั้งแบบ มีคนคลิก ลงไปบนโฆษณา แค่ คลิกเดียว เราก็ได้ตังค์ได้..เชื่อมั้ยครับ..หรือ จะเป็นแบบ เราไปช่วยโปรโมตสินค้าให้เจ้าของสินค้า
โดยที่ เราไม่ต้องซื้อของมาตุน ให้เงินทุนจมไปกับของ..โปรโมตบน Blog เราก็ฟรี ถ้าขายได้ เราก็ได้ตังค์ด้วยครับ..

4. หมั่น Update ให้บ่อยที่สุด
ข้อนี้ยากที่สุดครับ..หลังจากเรามี Blog มีโฆษณาแล้ว ทำยังไงให้คนที่เข้ามาแล้ว เข้ามา Blog เราบ่อย ๆ ครับ เผื่อว่าเรามีสินค้าใหม่ ๆ ที่ผู้อ่านอาจจะ
สนใจแล้วซื้อของ หรือ คลิกโฆษณา น่ะครับ..(ยากมากจริง ๆ ) ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำก็คือ " ต้องหมั่น อัพเดทเนื้อหาครับ" ยิ่งบ่อย ยิ่งดีต่ออันดับ Blog ของ
เราบน Search Engine และ ดีต่อผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของเราด้วยครับ ดังนั้น อย่าคิดว่า ทำ Blog หาเงินเนี่ย ง่ายมาก ๆ แค่ทำแล้วทิ้ง ๆ ไว้ ก็
ได้เงินนะครับ...คิดเอาแล้วกันครับ..ว่ามันฟรี จะมีใครเขียน Blog แบบเดียวกับเราขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้า Blog เราไม่ดีจริง หรือ เนื้อหาไม่น่าสนใจ
ก็เสร็จเขาเลยนะครับ





เริ่มต้นสร้างบล็อกกับ blogger

     ปัจจุบันมีเว็บไซต์หลายแห่งที่เปิดบริการให้สร้างบล็อกกันแบบฟรีๆ ส่วนจะมีเว็บไหนบ้าง ผู้สนใจลองค้นหากันดู พี่goo คงให้คำตอบได้เป็นอย่างดี ในที่นี้ผมจะขอแนะนำ blogger ซึ่งปัจจุบันถูกครอบครองโดย Google ทำไมต้องเป็นตัวนี้ ขอสรุปจากการใช้งานที่ผ่านๆ มา คือ
1. ใช้งานง่าย เพียงมีบัญชี gmail ก็สร้างบล็อกได้ไม่จำกัด และมี gadget ให้เลือกใช้งานมากมาย 
2. ไม่น่าจะล่มง่ายๆ เพราะพี่ goo ดูแลอยู่
3. มี template ให้เลือกใช้มากมาย ทั้งจาก blogger เอง และเว็บไซต์ต่างๆ
4. ติด Google Adsense เพื่อสร้างรายได้ ได้อย่างง่ายๆ
รอช้าอยู่ใย เรามาเริ่มสร้างบล็อกกันดีกว่าครับ

1. เข้าสู่เว็บไซต์ www.blogger.com สำหรับผู้ที่มีบัญชี gmail อยู่แล้ว สามารถเข้าสู่ระบบได้ทันที ถ้ายังไม่มีก็เข้าไปสร้างบัญชีใหม่

2. หลังจากเข้าสู่ระบบ จะเข้ามายังแผงควบคุม เพื่อเริ่มต้นสร้างบล็อก

3. ตั้งชื่อบล็อก และที่อยู่บล็อก(URL) โดยสามารถตรวจสอบความพร้อมใช้งานของ URL ที่จะใช้ ว่ามีใครใช้หรือยัง และยังสามารถเปลี่ยนได้ในภายหลัง ตราบใดที่ไม่ไปซ้ำกับ URL อื่นๆที่ถูกตั้งขึ้นมาก่อนหน้า

4. เลือกแม่แบบ( template ) ที่ blogger ได้จัดไว้ให้ และยังสามารถหา template อื่นๆ จากเว็บไซต์ต่างๆ มาติดตั้งแทนที่ในภายหลังได้


 5. บล็อกจะถูกสร้างขึ้น และพร้อมสำหรับการเขียน


 6. เริ่มต้นเขียนบทความใหม่
     - ใส่ชื่อเรื่อง เขียนเนื้อหา
     - บันทึกเป็นฉบับร่าง โดยการบันทึกนี้ เนื้อหาที่เขียนขึ้นจะยังไม่แสดงในหน้าบล็อก จนกว่าจะมีการเผยแพร่
     - เผยแพร่บทความ เพื่อแสดงบทความในหน้าบล็อก
     - กดดูบล็อก เพื่อดูหน้าบล็อกล่าสุด หลังจากการสร้าง หรือเขียนบทความ


(หน้าบล็อกที่มีการเผยแพร่บทความ)

หลังจากที่สร้างบล็อกเสร็จแล้ว สามารถเข้าสู่ระบบผ่าน www.blogger.com เพื่อแก้ไข ปรับแต่ง เพิ่มบล็อกหรือบทความ ที่หน้าแผงควบคุม

เพียงเท่านี้ใครๆ ก็สามารถมีบล็อกเป็นของตัวเอง เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่างๆผ่านโลกออนไลน์ ได้อย่างง่ายดาย





การกำหนดชื่อโดเมนไปยัง blogger

          บทที่แล้วเราได้เริ่มต้นการใช้งาน blogger กันไปแล้ว( เริ่มต้นสร้างบล็อกกับ blogger ) ในบทนี้ผมจะแนะนำวิธีการกำหนดชื่อโดเมนที่เราได้ลงทะเบียนไว้ ไม่ว่าจะเป็น .com, .net, .org และอื่นๆ อีกมากมาย มายังบล็อกของเรา
         ชื่อโดเมนเดิมที่ทาง blogger จัดไว้ให้เราจะเป็น sub โดเมนของ blogspot.com อาทิเช่น http://sangblogmai.blogspot.com ส่วนวิธีการกำหนดชื่อเป็นโดเมนของเราเองนั้น มีขั้นตอนดังนี้ครับ
1. เข้าสู่ระบบผ่าน www.blogger.com เข้ามายังแผงควบคุม แล้วเลือกการตั้งค่า


2. ที่แท็บ การเผยแพร่ เลือก "โดเมนที่กำหนดเอง" 


3. เข้าสู่หน้าการจดชื่อโดเมนกับ Google สำหรับผู้ที่ยังไม่มีชื่อโดเมน โดยมีค่าใช้ง่าย 10 เหรียญต่อปี แต่ถ้าเรามีชื่อโดเมนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะจดจากที่ไหนให้เลือก "เปลี่ยนเป็นการตั้งค่าขั้นสูง" ฟังดูน่ากลัวแต่ไม่ยากอย่างที่คิดครับ


ในการตั้งค่าขั้นสูง เราเพียงใส่ชื่อโดเมนของเรา ดังตัวอย่าง www.sangblogmai.com โดยที่ชื่อเดิม sangblogmai.blogspot.com ก็ยังใช้ได้อยู่ ใส่รหัสยืนยัน แล้วบันทึกการตั้งค่า
  

4. ขั้นสุดท้ายคือการไปกำหนด DNS กับบัญชีโดเมนที่เราจดไว้ ให้ชี้มายัง Googleโดยไปกำหนด CNAME Record ให้ชี้มายัง ghs.google.com.
          วิธีการกำหนด CNAME สำหรับผู้ที่จดกับต่างประเทศ อาทิเช่น GoDaddy, Yahoo, EasyDNS, No-IP และอื่นๆ ดูวิธีการได้จากที่นี่ Blogger Help ส่วนในประเทศสามารถขอคำแนะนำ หรือคู่มือการกำหนดค่าโดเมน กับผู้รับจดทะเบียนได้เลยครับ

         หลังจากตั้งค่า DNS ถูกต้องและใช้งานได้แล้ว การตั้งค่าฝั่ง blogger จะแจ้งว่า "บล็อกของคุณพร้อมใช้งานแล้ว" เพียงเท่านี้ก็สามารถเผยแพร่บล็อก ด้วยชื่อโดเมนของเราเอง โดยที่ชื่อเดิมยังคงใช้ได้อยู่




การเปลี่ยน template blogger

          คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ blogger ที่โดนใจผมคือสามารถปรับเปลี่ยนแม่แบบ หรือเทมเพลตได้ง่ายและหลากหลาย ทั้งจาก blogger เอง และเว็บไซต์ต่างๆที่ปล่อยให้โหลดให้เลือกมากมาย อาจต้องใช้เวลาเป็นวันๆ กว่าจะได้แบบที่ถูกใจที่สุด
          ในบทนี้ผมจะเสนอวิธีการเปลี่ยนเทมเพลตทั้ง 2 วิธี คือการเปลี่ยนเทมเพลตจาก blogger และการเปลี่ยนเทมเพลตจากเว็บอื่นๆ ดังนี้ครับ 
1. การเปลี่ยนเทมเพลตจาก blogger
     1.1 เข้าสู่ระบบ มายังแผงควบคุม แล้วเลือกการออกแบบ


     1.2 เลือกเครื่องมือออกแบบแม่แบบ

     1.3  เลือกแบบที่เราต้องการ โดยจะมีตัวอย่างอัพเดตการเปลี่ยนแปลงให้ดูด้านล่าง เมื่อเลือกแม่แบบแล้ว ยังสามารถปรับแต่ง พื้นหลัง รูปแบบ และความกว้างของเพจ ตามความต้องการได้อีกด้วย
     เมื่อปรับแต่งจนเป็นที่พอใจแล้ว ให้กด "ใช้กับบล็อก" เพื่อทำการบันทึกเทมเพลต และการปรับแต่งทั้งหมด


2. การเปลี่ยนเทมเพลต ที่ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์อื่นๆ
     ถ้าเทมเพลตที่ทาง blogger ได้จัดไว้ให้ยังไม่ถูกใจ เราสามารถหาและดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ต่างๆ ได้( พี่ goo หาให้ได้ใช้คีย์เวิร์ดสั้นๆ "blogger template" ) ส่วนขั้นตอนการติดตั้งมีดังนี้
     2.1 ในเมนูการออกแบบ เลือกแก้ไข HTML ก่อนการเปลี่ยนเทมเพลต สามารถ "ดาวน์โหลดแม่แบบเดิม" เก็บไว้ เผื่ออยากกลับไปใช้แบบเดิม
     2.2 กด "Browse" เพื่อหาไฟล์ที่เราโหลดมา ซึ่งเป็นไฟล์ .XML 



     2.3 กดอัพโหลด หลังจากนั้นจะมีการแจ้งเตือนเกี่ยวกับ widget จากเทมเพลตเดิมที่ไม่มีในเทมเพลตใหม่ แล้วให้เลือกว่าจะเก็บไว้ หรือลบทิ้งไป

     

     เมื่อกด "ดูบล็อก" หน้าตาบล็อกก็จะเปลี่ยนไป โดยเทมเพลตส่วนใหญ่ก็จะทำให้แถบ blogger ด้านบนหายไปด้วย ขอให้สนุกกับการหาเทมเพลตสวยๆ แปลกๆ ครับ 
*** บางเทมเพลตที่โหลดมา อาจมีลูกเล่นบางอย่างที่ต้องแก้ไข source code ซึ่งสามารถแก้ไขแม่แบบตามคำแนะนำที่แนบมากับไฟล์เทมเพลตได้เลย( ส่วนใหญ่จะแนบมาเป็น text file )






การใช้ Gadget ออกแบบบล็อก

          คุณสมบัติข้อหนึ่งของบล็อกสำเร็จรูปทั่วๆไป ที่มีให้นักเขียนบล็อกได้ใช้งานคือ การออกแบบหน้าบล็อกโดยการใช้ widget หรือ Gadget
          Gadget คืออะไร หลายท่านๆ อาจจะรู้จักและคุ้นเคยกันดี แต่ถ้าใครไม่รู้จัก ผมจะขอนิยามสั้นๆ ว่า Gadget คือ ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมควบคุมในการทำงานของอินเตอร์เฟสกับแอพพลิเคชั่น เช่น ปุ่ม ไอคอน แถบเมนู ที่นำมาใช้กับ หน้าจอคอมพิวเตอร์ มื่อถือ เว็บไซต์ หรือแม้แต่บล็อก 
         ใน blogger ก็มี Gadget ให้เลือกใช้งานมากมายทั้งจาก blogger เอง และจากผู้พัฒนาอื่นๆ วิธีการนำมาตกแต่งหน้าบล็อกก็ทำได้ไม่ยาก เรามาลองใช้งานกันดูครับ 



เข้าสู่ blogger ไปยังแผงควบคุม และเลือกการออกแบบ

จากรูป คือองค์ประกอบของหน้าบล็อก A คือ ตำแหน่ง Gadget ส่วนหัว, B คือ ตำแหน่ง Gadget แถบเมนู, และ C คือ ตำแหน่ง Gadget ส่วนเนื้อหา ทั้งนี้ตำแหน่งต่างๆ ขึ้นอยู่กับ Template ที่เลือกใช้งาน
กดเพิ่ม Gadget ตามตำแหน่งที่ต้องการวาง แล้วเลือก Gadget ที่ต้องการ โดยทาง blogger ได้แยกตามหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการค้นหา
 ตั้งค่า Gadget ตามต้องการ แล้วกดบันทึก


เมื่อกลับมาที่หน้าองค์ประกอบบล็อก Gadget จะถูกวางในตำแหน่งที่เลือกไว้ แต่สามารถย้ายไปยังตำแหน่งอื่นๆ ได้ โดยการกดค้างแล้วลาก ดังข้อ C

เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้ Gadget เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้บล็อกได้อย่างง่ายดาย ขอให้สนุกกับการปรับแต่งหน้าบล็อกครับ

การสร้าง recent post ด้วย RSS feed

          การแสดงโพสต์ล่าสุด(recent post) และความคิดเห็นล่าสุด(recent comment) ในองค์ประกอบหน้าบล็อก ของ blogger นอกจากสามารถเรียกใช้จาก recent post gadget แล้วยังสามารถประยุกต์ใช้ RSS feed gadget ได้อีกด้วย ขั้นตอนมีดังนี้
1. เข้าสู่การออกแบบหน้าบล็อก จากแผงควบคุม เลือกเพิ่ม Gadget
2. ภายใน gadget พื้นฐาน เลือก ฟีด(Feed) ดังรูป

3. ตั้งค่าฟีด ด้วย URL [ http://YOURSITE.blogspot.com/feeds/posts/default ] YOURSITE คือ ชื่อบล็อก แล้วกด "ดำเนินการต่อ"
หมายเหตุ การแสดงความคิดเห็นล่าสุดใช้ URL [ http://YOURSITE.blogspot.com/feeds/comments/default ]
4. ตั้งค่าการแสดงผลต่างๆ พร้อมดูตัวอย่าง

5. กดบันทึก การโพสต์ล่าสุด(recent posts) หรือความคิดเห็นล่าสุด(recent comments) ก็จะแสดงที่หน้าบล็อก ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เข้ามาอ่านบล็อกของเราได้มากขึ้นครับ



การเปลี่ยน Favicon Blogger

         Favicon มาจาก favorite+icon หมายถึง icon ขนาด 16x16 pixels ที่ browser แสดงอยู่หน้า URL บ่งบอกถึงความเป็นเว็บไซต์ของเรา คล้ายกับ icon บน desktop ประโยชน์นอกจากเพิ่มความสวยงามขึ้นมาแล้ว ยังช่วยเป็นสัญลักษณ์แทนเว็บของเรา เวลา browser แสดงผลหรือถูกนำไป bookmark
         ใน Blogger เองก็มี favicon เป็นโลโก้ blogger สีส้ม ดังรูป ซึ่งมันก็บ่งบอกถึงความเป็น blogger แต่ไม่บ่งบอกถึงความเป็นบล็อกของเราเท่าไรนัก  
          ถ้าเปลี่ยนเป็นดังรูปถัดไป มันคงจะให้ความรู้สึกที่ต่างจากเดิมขึ้นมาก วิธีการเปลี่ยนก็ไม่ยาก ลองมาเปลี่ยนกันดูครับ

วิธีการเปลี่ยน favicon blogger
1. เตรีียมรูปนามสกุล .ico ขนาด 16x16 pixels อาจจะสร้างขึ้นเองจากโปรแกรมออกแบบรูป หรือใช้บริการเว็บไซต์ create favicon ต่างๆ เช่นdynamicdrive.com , favicon.cc
2. นำรูปดังกล่าวไปฝากไว้กับเว็บไซต์ฝากรูปต่างๆ เช่น  upic.me ,imageshack.us เพื่อนำลิงค์ที่ฝากรูปมาใช้
3. เข้าสู่แผงควบคุม blogger แล้วเลือกแก้ไข HTML ในเมนูการออกแบบ
4. วางโค้ด 
link href='url/favicon001.ico' rel='shortcut icon' type='image/vnd.microsoft.icon'
ภายใต้ head โดย 'url/favicon001.ico' คือที่อยู่ของไฟล์รูปจากข้อ 2. ดังรูปตัวอย่าง
5. บันทึกแม่แบบ

     เสร็จแล้วลองดูบล็อกของเราใหม่ แล้วจะเห็นถึงความต่างจากเดิม เพียงแค่มีสัญลักษณ์เล็กๆ ที่เรียกว่า favicon เพิ่มขึ้นมา



หนังสั้น